ช่วงนี้ที่ทำงานเราทำหน้าที่เป็นคนสัมภาษณ์ หา iOS Engineer เข้ามาร่วมทีม แล้วก็พบความยากลำบากในการหาตัวคนเก่งๆ เข้าทีมเหลือเกิน วันนี้ก็เลยจะขอมาอธิบาย Fact ของตลาดแรงงาน IT โปรแกรมเมอร์ในญี่ปุ่นกันซักหน่อย

ญี่ปุ่น ประเทศที่ขาดแคลนแรงงานสาย IT มาก

ก่อนอื่นต้องเล่าภาพรวมของตลาดแรงงานก่อน ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุเต็มตัว จึงขาดแรงงานในแทบทุกอุตสาหกรรม แต่ที่เห็นได้ชัดมากคืออุตสาหกรรม IT ด้วยเหตุผลหลายข้อ เช่น

ฝั่ง Demand

ฝั่ง Supply

ตัวอย่างข้อมูลอ้างอิงจาก DX 白書 2021 (White paper เกี่ยวกับสถานการณ์ Digital Transformation ปัจจุบันของญี่ปุ่น) เช่น

ถึงคำว่า “คนที่ทำหน้าที่เปลี่ยนองค์กรให้เข้ายุค DX” จะไม่ได้แปลว่าแรงงานสาย IT แต่ก็น่าจะเห็นความจริงที่ว่าบริษัทญี่ปุ่นขาดแคลนคนที่เข้าใจและสามารถแก้ปัญหาองค์กรยุคดิจิตอลได้เป็นอย่างมาก จึงเป็นเหตุผลให้แรงงานสาย IT ที่เก่งๆ เป็นที่ต้องการสูง

อัตราการแข่งขันของตำแหน่งงานสาย IT

จากข้อมูลของเว็บหางาน doda เมื่อเดือน ก.ค. 2021 อัตรารับสมัครงานสาย IT อยู่ที่ 9.68 เท่า (=มีตำแหน่งว่าง 9.68 ตำแหน่งต่อผู้สมัครหนึ่งคน) ถือเป็นสายงานที่ต้องการแรงงานสูงที่สุดเมื่อเทียบกับทุกสาย สะท้อนสภาวะของประเทศญี่ปุ่นที่ขาดแคลนแรงงานสายนี้ได้อย่างดี

กราฟความเปลี่ยนแปลงอัตรารับสมัครงาน

จากกราฟจะเห็นได้ว่างานสาย IT มีความต้องการสูงสุดมาตลอดตั้งแต่ปี 2014 ยิ่งตั้งแต่ 2017 ยิ่งพุ่งสูงติดเพดานเลย เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นคนญี่ปุ่นที่เรียนจบตรงสาย หรือมีประสบการณ์ทำงานบ้างแล้ว ก็หางานได้ไม่ยาก หรืออย่างเราที่มีประสบการณ์ 6 ปี ก็เรียกได้ว่ามีแต่คนอยากดึงตัวไปเลยทีเดียว

ภาพรวมของงานสาย IT

งานสาย IT จริงๆ มันกว้างมาก เมื่อก่อนแต่ละบริษัทจะ outsource งานเกี่ยวกับ IT ให้บริษัทอื่น เลยมีบริษัทจำพวก System Integrator (SIer) ทำงานตรงนี้โดยเฉพาะ กลายเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรม แต่ปัจจุบันบริษัทจำนวนมากจ้าง Engineer มาทำงานโดยตรง ดังนั้นไม่ว่างานในอุตสาหกรรมใดๆ ก็มีตำแหน่ง IT มาเกี่ยวข้องทั้งนั้น เลยขออธิบายภาพรวมจากหน้าที่และความเชี่ยวชาญดีกว่า

ตามภาพ เนื้องานสาย IT แบ่งย่อยได้ตามนี้

และยังมีสายอื่นๆ อีกมากมายที่เรานึกไม่ออกหรือไม่รู้จัก หากตกหล่นไปก็ขออภัยด้วยครับ

วิธีทำงานของ Software Engineer ในญี่ปุ่น

ต่อจากนี้จะขอพูดถึงเฉพาะงานสายที่เราทำ นั่นคือ Software Engineering นั่นเอง ที่ญี่ปุ่นมีวิธีทำงานหลักๆ สามแบบคือ

  1. In-house development(内製開発) - เป็นพนักงานของบริษัทนั้นๆ เขียนซอฟต์แวร์ให้กับ product/service ของบริษัทตัวเอง
  2. Subcontractor(受託開発) - เป็นพนักงานของ vendor เขียนซอฟต์แวร์ให้กับลูกค้าเจ้าอื่น
  3. Freelance(フリーランス) - รับงานเขียนซอฟต์แวร์อย่างอิสระ

ตัวเราตั้งแต่ทำงานเป็น Software Engineer ก็ทำแต่ In-house มาตลอด เลยจะขอพูดถึงงานฝั่งนี้เป็นหลัก

แต่ส่วนตัวแล้ว ถ้าเทียบกับ In-house กับ Subcontractor แนะนำให้หางาน In-house ดีกว่า ทั้งเรื่องเงิน สวัสดิการ และสิทธิ์เสียงในที่ทำงาน โดยภาพรวมแล้วดีกว่างาน Subcontractor มาก ส่วนงาน Freelance ถ้ามั่นใจว่ามีความสามารถพอ สามารถหา Client จ้างเราได้ ก็จะทำเงินได้ดีมาก ส่วนหนึ่งเพราะการเป็น Freelance สามารถประหยัดภาษีได้เยอะกว่าเป็นพนักงานเงินเดือนนั่นเอง

ค่าตอบแทน (เงินเดือน) ของ Software Engineer ในญี่ปุ่น

ค่าตอบแทนของ Software Engineer ในญี่ปุ่น ดูได้จากเว็บ https://opensalary.jp/ ที่ขอข้อมูลจากพนักงานที่ทำงานในบริษัทนั้นๆ จริงๆ บางอันอาจมีหลอกบ้าง แต่เท่าที่เราดูก็ค่อนข้างเชื่อถือได้แหละ

ข้อมูลจากหน้าแรกเว็บ https://opensalary.jp/

Median ของค่าตอบแทนทั้งปีของ Software Engineer ในบริษัท Top Ten เรียงได้ตามนี้

  1. Google Japan - 22,000,000 เยน
  2. Indeed - 17,300,000 เยน
  3. Woven Planet - 14,000,000 เยน
  4. Amazon Japan - 14,250,000 เยน
  5. Smart News - 10,900,000 เยน
  6. Amazon Web Service - 10,500,000 เยน
  7. Mercari - 10,500,000 เยน
  8. LINE - 8,750,000 เยน
  9. PayPay - 8,550,000 เยน
  10. Rakuten - 7,795,000 เยน

จะเห็นได้ว่า Google ญี่ปุ่นจ่ายหนักสุดแล้ว ไม่แปลกใจที่ Google Japan จะเป็นเป้าหมายสูงสุดของ Software Engineer ในญี่ปุ่น (เป้าหมายของเราก็เช่นกัน) ส่วนบริษัทท็อป 5 ก็ถือเป็นบริษัทชั้นนำที่คนมองเป็นเป้าหมายกันเยอะมาก

หากสังเกตดีๆ บริษัท Top 5 นี้เป็นบริษัทข้ามชาติหมดเลย เป็นความจริงที่ว่าบริษัทญี่ปุ่นแท้ๆ ที่ทำธุรกิจหลักอยู่ในญี่ปุ่นจะจ่ายค่าตอบแทนต่ำกว่าบริษัทข้ามชาติ (ไม่เฉพาะสายงาน IT) เพราะฉะนั้นถ้าใช้ภาษาอังกฤษได้คล่อง เลือกงานกับบริษัทข้ามชาติก็น่าจะทำเงินได้ดีกว่านะ

อนึ่งตัวเลขนี้เป็นค่า Median เราเลยบอกไม่ได้ว่าคนที่ได้รายได้นี้ทำงานมากี่ปี อยู่ตำแหน่งไหน แต่เดาได้ว่าถ้ามีประสบการณ์ทำงาน 5-10 ปี ก็จะได้เงินประมาณนี้แหละ (ไม่ใช่ว่าจบใหม่เข้าไปแล้วจะได้เท่านี้เลยนะ)

ส่วนตัวเคยอยู่ Rakuten มาก่อน จะได้ค่าตอบแทนประมาณนี้ต้องอยู่ตำแหน่งเกือบๆ สูงสุดของ Individual contributor (คนที่ยังไม่ใช่ Specialist หรือ Manager) แล้ว ต้องเก่งพอจะทำทุกอย่างด้วยตัวเองได้ในขอบเขตแคบๆ แล้วล่ะ

ตำแหน่งงานและ Demand ของ Software Engineer แต่ละสาย

ข้อมูลเงินเดือนที่กล่าวไป เป็นข้อมูลของ Software Engineer โดยรวม แต่ภายในกรอบของ Software Engineer ก็มีตำแหน่งแยกย่อย ซึ่งมีความต้องการไม่เท่ากัน

ตำแหน่งงานของ Software Engineer หลักๆ จะแบ่งตาม Platform ที่ต้องดูแล 6 อย่างดังนี้

ถ้าบริษัทใหญ่หน่อยก็จะแยกทีมกันทำ ถ้าบริษัทเล็กหน่อย คนนึงอาจจะทำหลายอย่าง หรือทำทั้งหมด กรณีนั้นจะเรียกว่า Full Stack Developer

​Data กับ SRE รู้สึกว่าช่วงนี้ความต้องการสูงมาก ส่วนฝั่ง Application นั้น iOS กับ Android ถือว่าเนื้อหอมมาก เพราะว่ามี Supply น้อย

อ้างอิงจากแบบสำรวจจาก iOS Academia Blog พบว่าคนที่ทำงาน iOS / Android (เรียกรวมๆ ว่า Native หรือ App Engineer) เทียบกับเว็บ (Frontend / Backend) แล้ว มีอัตราส่วนที่ 11:89 พูดง่ายๆ คือ 1 ใน 10 คนเท่านั้นที่เขียนแอพ iOS / Android เป็นอาชีพ

Smartphone App Engineer เทียบกับ Web Engineer จาก iOS Academia Blog

เหตุผลที่ iOS / Android Engineer มีน้อย ก็เช่น

เรียนยาก เผยแพร่แอพยาก ตำแหน่งงานก็น้อยกว่าสายเว็บ ทำให้ iOS / Android Engineer มีจำนวนน้อย แต่เพราะความหายากนี่แหละ ทำให้คนต้องการตัวมากกว่า ได้ตอบแทนสูงกว่า Web Frontend / Backend Engineer (ได้อย่างเสียอย่างจริงๆ)

ตัวอย่างตำแหน่งและค่าตอบแทน (เงินเดือน) ของ iOS Engineer ในญี่ปุ่น

เกริ่นภาพรวมกับอธิบายตำแหน่งงานมาซะยาว ขอยกตัวอย่างเงินเดือนงานที่เราทำเลยละกัน

ตำแหน่ง iOS Engineer บริษัท Recruit Co., Ltd. หน้าที่พัฒนาและดูแลแอพ Study Sapuri แอพติวสอบออนไลน์สำหรับนักเรียนญี่ปุ่น (ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิ.ย. 2022)

ภาพจาก https://brand.studysapuri.jp/career/position/ios-engineer

Job Description แปลเป็นไทยได้ดังนี้

คุณสมบัติที่ต้องการ

หากสมัครระดับ Senior ต้องการคุณสมบัติดังนี้เพิ่ม

คุณสมบัติอื่นๆ ที่อยากได้

ค่าตอบแทน

ระดับ Senior

อธิบายตำแหน่งและความสามารถที่ต้องการ

ในเว็บรับสมัครแบ่งแยกระดับธรรมดากับ Senior ไว้ ระดับธรรมดาจริงๆ คือ Middle level (ประสบการณ์ 2 ปี+) โค้ดอาจจะไม่ดีเลิศ อาจจะไม่ได้เขียน Test แต่มีความกระตือรือร้นใฝ่รู้ จ้างมาแล้วต้องทำงานได้โดยไม่ต้องสอนวิธีเขียนโค้ดให้ตั้งแต่แบเบาะ ตอนคัดเลือกจะมีโจทย์ให้เขียนแอพเล็กๆ แอพหนึ่งส่งมาเป็นการบ้าน เราจะตัดสินใจสกิลผู้สมัครจากแอพที่เขาเขียนนี่แหละ

ระดับ Senior เงินเดือนสูงกว่ามาก เพราะเราต้องการคนที่มองภาพรวมระบบออก พร้อมที่จะขวนขวายนำ Framework ใหม่ๆ มาใช้เพิ่ม productivity ให้ทั้งทีม สามารถรีวิวโค้ดให้มีคุณภาพดีในระยะยาว ไม่ใช่แค่โค้ดที่ทำตามความต้องการได้เฉยๆ ต้องสามารถเป็นลีดเดอร์นำทีม โค้ชสอนคนที่ระดับต่ำกว่าให้เก่งขึ้น อัพ output โดยรวมของทีมได้ด้วย ดังนั้น ประสบการณ์ทำงานจริงๆ น่าจะต้อง 5 ปีขึ้นไปถึงจะอยู่ในระดับนี้ได้ (3 ปีใน JD เป็นแค่เกณฑ์ขั้นต่ำ)

ค่าตอบแทนของ Software Engineer ในบริษัทญี่ปุ่นสูงมั้ย?

อยากตัวอย่างข้างบน บริษัท Recruit นี้โฆษณาว่าตัวเองจ่ายเงินเดือนเทียบเท่าหรือดีกว่าบริษัทญี่ปุ่นชั้นนำแล้ว พอเทียบกับค่าตอบแทนของบริษัทต่างๆ ระดับสูงสุดของ Middle Level ใน JD จ่ายค่าตอบแทนที่ 8.74 ล้านเยน เทียบเท่ากับค่า Median ของ LINE ซึ่งเป็นบริษัทญี่ปุ่นที่จ่ายค่าตอบแทนสูงสุด (8.75 ล้านเยน) ถามว่าสูงมั้ย? ก็ถือว่าสูงมากสำหรับบริษัทญี่ปุ่น สูงกว่าค่าเฉลี่ยเงินเดือนคนญี่ปุ่นวัย 30 ถึงสองเท่า

แต่… คำว่าสูงนี้ก็ใช้ได้เฉพาะเวลาเทียบกับบริษัทญี่ปุ่นด้วยกัน หากเทียบกับบริษัทข้ามชาติอันดับหนึ่ง Google Japan ที่จ่ายถึง 22 ล้านเยน ตัวเลขนี้ก็เป็นเพียงเศษส่วน เลยเกิดปัญหาขึ้นมาว่า Software Engineer เก่งๆ ในญี่ปุ่นจะมุ่งหน้าสมัครบริษัทข้ามชาติกัน ทำให้สมองไหลจากบริษัทญี่ปุ่น แม้บริษัทจะต้องการบุคลากรมากขนาดไหน แต่ในเมื่อไม่เหลือคนเก่งเทพๆ ให้จ้าง บริษัทก็ไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้ ส่งผลให้ญี่ปุ่นตกอยู่ในภาวะลำบาก ตามหลังประเทศอื่นในด้าน Digital Transformation อย่างนี้นี่เอง

จากประสบการณ์ตรง เราเข้าทีมจ้างคนมาปีกว่า สัมภาษณ์คนมาก็เยอะ แต่ยังไม่เจอคนสมัครระดับ Senior เลยซักคน สะท้อนได้ชัดเจนว่าคนที่อยู่จุดนี้หาตัวยากจริงๆ

สรุป

บทความนี้เขียนเพื่ออธิบายภาพรวมตลาดแรงงาน IT โดยเฉพาะ Software Engineer ในญี่ปุ่น ให้ผู้อ่านรู้ตัวเลขและสถานะความเป็นจริงของตลาดปัจจุบัน หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจครับ

อนึ่ง ข้อมูลที่เขียนในนี้มาจากความเห็นส่วนตัวของเราจากการทำงานเป็น iOS Engineer ที่โตเกียวมา 6 ปี ประกอบกับข้อมูลจากแหล่งอ้างอิงเท่าที่หาได้ อาจมีข้อผิดพลาดเพราะรู้ไม่ถึงการณ์ ก็ขออภัยไว้ด้วยครับ

ส่งท้าย

วัตถุประสงค์ที่เขียนบทความนี้จริงๆ แล้วคือ อยากเตือนคนที่ชอบญี่ปุ่นและอยากมาทำงานสาย IT ที่นี่ว่าค่าตอบแทนที่นี่น่ะไม่ได้สูงนักเมื่อเทียบกับประเทศโลกตะวันตก (ลองส่องเงินเดือนประเทศอื่นได้ที่นี่) หากต้องการค่าตอบแทนสูงๆ ขอให้คิดหนักๆ อีกทีเลย

แต่อย่างที่กล่าวไปว่าตลาดมีความต้องการตัวบุคลากร IT มาก ถ้าอยากมาก็มาได้ไม่ยาก บริษัทข้ามชาติก็มีหลายที่ บางที่ใช้ภาษาอังกฤษทำงานได้ (แต่มี JLPT N2 ขึ้นไปจะดีกว่า ตัวเลือกเยอะ) เดี๋ยวนี้บริษัทชั้นนำทำงานกันแบบสมัยใหม่แล้ว ไม่มีการทำงานโขกสับจนดึกดื่นเหมือนเมื่อก่อน ถ้าอายุเฉลี่ยของพนักงานอยู่ในหลัก 30 ก็ปลอดภัยในระดับหนึ่ง ดังนั้น ถ้าคุณชอบวัฒนธรรมญี่ปุ่น (ชอบอนิเมะแบบเรา ฮ่าๆ) ชอบความปลอดภัยในชีวิต ยอมรับเงินเดือนได้ ญี่ปุ่นก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจตัวหนึ่ง

หากอยากทราบอะไรเพิ่มเติมก็สามารถถามเราผ่าน Twitter ได้ครับ อยากให้มีคนไทยสาย IT มาญี่ปุ่นเยอะๆ จะได้มีเพื่อนคนไทยเพิ่ม ฮ่าๆ

แหล่งอ้างอิงอื่นๆ