ARISE เป็นงานสัมมนาเพื่อคนที่เกี่ยวข้องหรือสนใจเทคโนโลยี AR เพิ่งจัดขึ้นครั้งแรกวันที่ 3/8/2019 ก็จะขอรีพอร์ตสิ่งที่ได้ฟังมาให้อ่านกันครับ ฟังแล้วได้คำใบ้ในการเข้าไปมีส่วนร่วมในวงการ AR เยอะเลย

ARISE: Spatial Experience Summit #1 (2019/08/03 11:00〜)

# ARISE: Spatial Experience Summit とは ARISEは「日本発のグローバルARコミュニティを創る」こと、そして「業界業種を超えて、より多くの人々がAR技術で価値を創造する」ことを実現するために発足した日本発のARコミュニティイベントです。 その第一弾として8月3日にAbema Towersにて様々なARスタートアップやARのスペシャリストを招致したイベントを開催します。 ・日本のAR業界を牽引するトップランナーたちによるトークセッション ・ARで何ができるのかデモコンテンツ/デバイスを体験することができるデモセッション ・ARにすでに携わっている...

เว็บสมัครอีเวนต์

สถานที่จัด Abema Towers

วัตถุประสงค์ของอีเวนต์​ ARISE

  • อยากให้คนได้ลองทำอะไรใหม่ๆ ด้วย AR
  • วัตถุประสงค์ของอีเวนต์
    • เพื่อสร้างคอมมิวนิตี้ AR ระดับโลกจากญี่ปุ่น
    • เพื่อใช้ AR สร้างคุณค่า​ (Value) จากผู้คนหลากหลายวงการ
  • ทำไมบ. MESON ถึงจัด?
    • อยากสร้าง space ที่ให้ผู้คนที่เชื่อมั่นใน AR ได้มีโอกาสทำอะไรใหม่ๆ ด้วยกัน

Sponsors

  • MESON บ.ผู้จัดงานบ. อยากสร้าง UI/UX ใหม่ๆ บน AR
  • enhance
  • XR Guild @ CyberAgent

ข้าวปลาอาหารเที่ยงพร้อม

มีสติกเกอร์ให้ผู้ร่วมงานติดบอกว่าตัวเองอยู่ตำแหน่งอะไร จะได้พูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันง่ายขึ้น

Session #1 AR Trend 2019 จากมุมมองสื่อ

  • Speaker = 久保田 瞬 / MoguraVR, Founder @tyranusii
  • ภารกิจ = เพื่อเผยแพร่ประสบการณ์ที่หลากหลายแก่คนทั่วโลก

https://www.moguravr.com/

Mogura VR เว็บข่าว VR/AR ที่ผมอ่านทุกวัน

AR vs VR

  • ที่เหมือนกันคือเป็นเทคนิคในการหลอกสมอง ให้นึกว่าของที่ไม่มีจริงมีอยู่จริง
    • ตัวอย่างเช่น Pokemon GO ทำให้คนมารวมตัวกันอยู่ที่ยิมที่ไม่มีอยู่จริงได้ สร้างประสบการณ์ใหม่ขึ้นมา
  • สามารถเปลี่ยนวิถีชีวิต เปลี่ยนสังคมได้
  • AR แพร่หลายมากกว่า เข้าถึงสังคมอย่างแนบเนียน ใช้ในชีวิตประจำวันได้ แต่ไม่มี wearable device เท่าไร
  • VR แพร่หลายน้อยกว่า ไม่ใช้ในชีวิตประจำวัน คนต้องการประสบการณ์ VR ที่แปลกใหม่จริงถึงจะสวมใส่ มี wearable device (HMD) หลากหลาย

อุปกรณ์​ AR สามระดับ

  • Smartphone/Tablet
    • เข้าถึงง่าย รับรู้สภาพแวดล้อม แต่เป็นแค่หน้าจอ แยกจากสายตาเรา
  • Smart Glasses
    • เข้าเป็นส่วนหนึ่งของสายตา แต่ไม่สามารถรับรู้สภาพแวดล้อม
    • Google Glass
  • MR (Mixed Reality) Device
    • เข้าเป็นส่วนหนึ่งของสายตา + รับรู้สภาพแวดล้อมได้ เป็นระดับสูงสุด
    • HoloLens

Industry Map แผนภาพอุตสาหกรรม VR/AR

https://www.gartner.com/smarterwithgartner/5-trends-emerge-in-gartner-hype-cycle-for-emerging-technologies-2018/

AR อยู่ในช่วงตกต่ำก่อนแพร่หลาย (แกนหลักเทคโนโลยีได้ แต่ประยุกต์ใช้งานในชีวิตประจำวันยังไม่ได้) ส่วน VR ทะลุเข้าช่วงกำลังแพร่หลายไปแล้ว

http://www.thevrfund.com/resources/industry-landscape/

เทียบกับ VR แล้ว AR มี player น้อยกว่า ฝั่ง infrastructure ก็ยังไม่มี standard ที่ชัดเจน สามารถเข้าไปร่วมพัฒนาในฝั่งฐานปิรามิดได้​ ส่วนฝั่ง VR ชัดเจนแล้ว ถ้าจะเข้าไปร่วมพัฒนาก็จะเป็นฝั่ง Application/Media มากกว่า

AR Trend

  1. **เข้าถึงชีวิตประจำวันมากขึ้น **เพราะความแม่นยำในการรับรู้สภาพแวดล้อมสูงขึ้น 1. Snapchat ถ่ายรูปแปลงเพศ 2. Google Map AR Route นำทางด้วย AR 3. Pokemon GO จับโปเกม่อนในโลกจริง
  2. Mobile AR จะเป็นที่นิยมมากขึ้น 1. ARKit (iOS), ARCore (Google) 2. AR Filter ในแอพต่างๆ เช่น Facebook, Snapchat 3. WebAR ใช้บนเว็บไม่ต้องมีแอพ 4. Collaboration กับ IP (Intellectual Property) คาแรกเตอร์ต่างๆ เช่นแอพ AR Spiderman
  3. Wearable AR Device จะมีผู้ผลิตเพิ่มขึ้น 1. HoloLens 2 2. Nreal light 3. Magic Leap 4. ฯลฯ มากมาย 5. Apple ก็น่าจะลงมาร่วมตลาดด้วย
  4. AR จะถูกนำไปใช้ใน B2B ภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น 1. ใช้เทรนนิ่งในโรงงาน 2. HoloLens เทรนนิ่งทหารอเมริกา 3. ScopeAR WorkLink

ARKit 3 Motion Capture

อนาคตของ VR/AR

  • จากนี้ไป VR/AR จะไม่ใช่แค่เครื่องมือ จะเป็นสิ่งที่อยู่ติดตัวตลอดเวลา (Wearable Devices)
  • ต้องเปลี่ยนความคิดในการสร้างแอพไปเลย user จะไม่ได้หยิบอุปกรณ์ขึ้นมาเพื่อเปิดแอพอีกต่อไป แต่โลกเสมือนจะอยู่คู่กับ user ไปตลอด นักพัฒนาต้องเข้าใจค่านิยมที่จะเปลี่ยนไปถาวร
  • คำนิยามใหม่เกิดขึ้นมาเรื่อยๆ
    • Mixed Reality Collaborative Computing
    • Magicverse Spatial Computing
    • Mirror World
      • มีสรุปกิจกรรมปัจจุบันในนิตยสาร WIRED vol.33
  • อะไรคือ Real อะไรคือ VR อะไรคือ AR จะแยกไม่ออกอีกต่อไป สามารถสลับระหว่างความจริงกับโลกเสมือนได้อย่าง seamless
    • สแกนโลกจริง แล้วเปลี่ยน texture ใน VR ก็จะได้โลกเสมือนที่ซ้อนทับโลกจริงออกมา
  • docomo ลงทุนให้ Magic Leap 280 ล้านดอลลาร์
    • เจ้าของ platform โลกเสมือนนี้มีมูลค่าธุรกิจสูงมากๆ เลยลงทุนกันมหาศาล

Startup Session - Panel Discussion

จากตรงนี้เป็นช่วงถามตอบผู้บริหารสี่คน ทอล์กโชว์แลกเปลี่ยนความเห็นกัน

  • MESON - บ.สร้างประสบการณ์ใหม่ผ่าน AR เน้นที่แฟชั่นโชว์ และ AR City
  • HADO - บ.ทำเกมปล่อยพลังคลื่นเต่าสู้กัน! อยากให้เกิดเป็นกีฬาใหม่
  • HOLOLAB - บ. consult บริษัทในการใช้ AR/VR
  • Graffity - บ.ทำ AR Communication Game ตัวอย่าง Pechabato เกมชูทติ้งยิงกันผ่าน AR

ข่าวที่ตกใจที่สุดในปี 2019 ในมุมมองผู้บริหารคือ?

  • Nreal light แว่น AR Glasses คุณภาพดีมาก ราคารับได้ ดีอย่างนี้ AR wearable device ฮิตแน่ปีหน้า
    • เทคโนโลยีมางี้ต้องเปลี่ยนแผนบริหารด่วนเลย ต้องลองเองถึงจะรู้ว่าเทคโนโลยีไหนจะเกิด เทคโนโลยีไหนจะไม่เกิด อย่าเชื่อข่าวจนกว่าจะได้ลอง
  • Apple ARKit detect occlusion (ซ้อน object หน้าหลังในความเป็นจริง) ได้ พัฒนากว่าเดิมมาก

ครึ่งหลังปี 2019 ควรสนใจ Smartphone AR หรือ Smart glasses AR?

  • ต้องใช้ทั้งสองอย่างให้เหมาะสม บางงาน ARKit เหมาะกว่าก็ใช้ smartphone บางงานแว่นเหมาะกว่าก็แว่น
  • อยากโฟกัสไปที่ smart glasses ยิ่งถ้าทำแบบ B2B ก็สามารถใช้ประโยชน์ได้จริง แถมยังไม่มีใครทำให้ประสบความสำเร็จระดับโลก น่าท้าทาย

จะขยายโปรดักต์ออกไป มีแนวทางอย่างไร?

  • Hado - อยากสร้างคอนเทนต์ที่ผู้เล่นเข้ามาร่วมเล่นกันได้เยอะๆ
  • Graffity - ขยาย AR Entertainment อยากเป็นอย่าง Nintendo, ให้ผู้เล่นเล่นกันนานๆ (ข้อเสียของเกม AR ตอนนี้คือเล่นทีเดียวเลิกกันเยอะ) ขยายไปต่างประเทศ Global ดีกว่าแน่นอน
  • meleap - จุดที่เจ๋งของ AR คือไม่ต้องใช้ภาษามาก แค่ลองเล่นก็เข้าใจ ขยายไปประเทศไหนก็ได้
  • MESON - ไม่มีแนวทาง เพราะโลกเปลี่ยนเร็วมาก ต้องทดลองเร็วๆ หาพาร์ทเนอร์ให้เร็วที่สุด แต่ก็ต้องหาบ.ที่เข้าใจ vision ด้วยกัน ไม่งั้นก็ไม่จับมือด้วย

เวลาจ้างคน จะมองคนตรงไหน?

  • คนที่สามารถขยายสกิลของตัวเองได้ด้วยตัวเอง
    • ต้องรู้อะไรใหม่ๆ ตลอดเสมอ สกิลเขียนแอพไม่พอ ต้องรู้ดีไซน์ รู้การออกแบบสิ่งก่อสร้างด้วย
  • คนที่คิดในฝั่ง business side มอง vision ไปด้วยกัน
  • เวลาสร้างทีมอยากได้ creator หลายๆ ประเภทเข้ามา - sound design, text design ก็จำเป็น
  • คนที่คิด project น่าสนใจๆ ด้วยตัวเองแล้วนำมาเสนอ จะยินดีรับเป็นพิเศษ
  • Vision & Value คนที่เห็นด้วย มีความคิดเดียวกัน
  • นอกจาก value แล้วก็อยากได้คนที่สนใจ ชอบ AR อยากสร้าง Innovation ด้วย AR มากๆ
  • คนที่มี HoloLens เป็นของตัวเองยิ่งดี เห็นของใหม่แล้วอดซื้อไม่ได้เลย
    • ในวงการนี้ทุกวันมีแต่ข่าวใหม่ๆ

ทำยังไงถึงจะสะสม Strength ในการคิด/พัฒนาโปรเจ็กต์ด้วย AR ได้?

  • Hololab - เลือกโปรเจ็กต์ที่จะทำให้บ.ตัวเองได้ความรู้ใหม่
  • MESON
    • เลือกไปเจอต้นน้ำของข้อมูลที่ต่างประเทศ (อีเวนต์ต่างๆ) ไม่ไปเจอปลายน้ำ
    • สร้างตำราด้วยตัวเอง สะสม know-how ด้วยตัวเอง
  • Hado
    • Hearing กับ user จริงๆ หนึ่งครั้งต่อ 2 สัปดาห์ ไปสัมภาษณ์นักเรียนตลอด
      • ห้ามขี้เกียจสัมภาษณ์
      • เปลี่ยนที่สัมภาษณ์​ เล่นข้างนอก เล่นข้างในบ้าน
    • อ่าน research paper ต่างประเทศตลอด เพื่อคาดเดา roadmap เทคโนโลยีที่จะเข้ามาในไม่กี่ปีข้างหน้า
    • User test ต้องทำบ่อยๆ
      • โดยเฉพาะคนที่ไม่เคยจับ AR มีคนที่ยกมือถือขึ้นมาดูแล้วไม่ขยับเลยด้วย เจองี้ก็เลยต้องใส่ guide เวลาคนไม่ขยับ ให้ลองเดินไปดูนู่นดูนี่
    • จ้างนักกีฬามาเป็น debugger โดยเฉพาะเลย
  • ฝั่ง R&D ให้อ่าน research papar แล้วแชร์กันเยอะๆ
  • ฝั่ง hardware ใหม่ๆ ก็ต้องเช็คด้วย ไม่ใช่แค่ทำ software บน hardware ที่มีอยู่แล้ว
  • ทำ prototype เยอะมาก ทดสอบให้รวดเร็ว

Developer Session - Panel Discussion

จบช่วงผู้บริหารคุยกันแล้วก็เป็นช่วงนักพัฒนาคุยกันบ้าง ผู้พูดดังนี้

  • MESON - AR Engineer พัฒนา PORTAL กับ ARCity หลักๆ เน้นฝั่ง UI
  • CyberAgent AbemaTV - ลีดเดอร์ XR Guild ในบ. รวม engineer หลายๆ แผนกมาร่วมกันสร้างโปรดักต์ใหม่
  • Psychic VR - สร้าง STYLY VR Creative Platform อัพโหลด&แชร์ผลงาน VR กัน

ข่าวที่ตกใจที่สุดในปี 2019 ในมุมมองนักพัฒนาคือ?

  • MESON - ARKit 3 SDK พัฒนาไปมาก
    • Occlusion
    • แชร์​ AR Space ได้
    • Body tracking
  • CA - ARKit 3
  • Psychic - Nreal
    • HoloLens ก็อัพเดตเยอะดีเหมือนกัน แต่ไม่ว้าว
    • Nreal ทำให้ไม่ต้องไปดูโรง IMAX ได้เลย จากนี้ทุกคนจะมีโรงหนังส่วนตัวเพียงสวมแว่น

ทำไมถึงมาเป็น AR Developer ที่ Startup?

  • Psychic
    • อยากเป็นผู้มีพลังพิเศษ เชื่อว่า AR จะขยายความสามารถของคนได้
  • CA
    • อยู่บ.ใหญ่ คำนวณตัวเลขจาก AR ยาก
    • อยากทำ ARKit อยากเป็นผู้รู้อันดับหนึ่งในบ. ก็เลยสร้าง project ด้วยตัวเอง
    • ใช้งานจริง - สร้าง AR คอนเทนต์อธิบายแข่งม้า ถูกนำไปใช้ออกอากาศจริง
  • MESON
    • ทำ VR มาอยู่แล้ว
    • แต่ AR เข้าใจง่ายกว่า VR เข้าถึงคนได้มากกว่า เลยทำ AR

อะไรที่ยากในการพัฒนา AR

  • ต้องเรียน Unity ฯลฯ ใช้เวลาเต็ม
  • ต้องเข้าใจ UI ใหม่
    • smartglasses จะวางปุ่มที่ริมจอ?? ไม่มีริมจอซักหน่อย
    • ต้องเข้าใจ 3D Space ไม่ใช่ 2D Space เปลี่ยน paradigm ในการดีไซน์ไปเลย
  • ต้องทดลองเองเยอะ ทำให้เร็วที่สุดเพื่อพิสูจน์สมมติฐาน
    • เช่นทดลอง AR ใน VR
  • ยากที่ต้องออกแบบร่วมกับความเป็นจริง
    • Use case ในห้องประชุม ต้องจัด virtual environment ยังไง จัด real environment ยังไงถึงจะได้ผลมากสุด
    • ใช้ความรู้หลากหลายมากๆ ไม่ใช่แค่ engineering skill
    • Real + Digital จึงได้ผลลัพธ์สูงสุด ต้องรู้ทั้งสองฝั่ง
  • ต้องคำนึงถึงโลกจริง
    • ห้องที่เป็นสีขาว จะ detect ยาก
    • ต่อให้วาง marker ไว้ เพื่อเสก object ขึ้นมา บางที marker ก็หายไปเพราะแสงในสภาพแวดล้อม
    • Interior design ก็จำเป็น
    • คิดถึงคนใช้ด้วย เวลาใช้มือควบคุม hand gesture ต้องยกมือขึ้นมา คนธรรมดาเหนื่อย ไม่ชอบใจ
  • อัพเดต SDK ครั้งใหญ่แล้วอะไรๆ ก็เปลี่ยนหมดเลย ต้องไล่ตาม

จะเป็นนักพัฒนา AR ต้องทำยังไง?

  • ลองเทคโนโลยีใหม่ๆ ด้วยตัวเอง must
  • ต้องเข้าใจความต่างของ display กับ AR space
    • อธิบายให้ได้ รู้ถึงแก่นแท้
    • ทำไม hand gesture ถึงยาก อธิบายได้มั้ย แก้ปัญหาได้มั้ย
  • มุ่งเป็น AR Creator จะดีกว่า Engineer
    • แค่เทคโนโลยี วิธีทำ หาอ่านได้มากมาย
    • สำคัญกว่าคือ Output จะทำอะไรออกมา เพื่ออะไร
  • ถ้าอยากเป็น AR Creator
    • แบบโหด = ทำ advent calendar สร้างผลงานวันละชิ้นทุกวันไม่มีขาดหนึ่งเดือนเต็ม
    • แบบธรรมดา = ทำคอนเทนต์ AR อัดคลิปสั้นๆ แชร์ให้คน RT เข้าใจ
    • บอกไปเลยว่าตัวเองเป็น AR Creator แล้วก็สร้างผลงานออกมาเยอะๆ
  • สถาปนิกมาจับ Unity สร้างผลงานเองอาจจะเร็วสุด
  • ต้องการคนจากวงการอื่นๆ เข้ามาร่วมทำงานด้วยกัน
  • โปรดักต์ AR ถ้าไม่ทำ prototype ก็ไม่มีทางทำโปรดักต์ออกมาได้

ส่งท้าย

ที่จริงยังมีอีก 3 session แต่ผมติดเรียนตอนบ่ายเลยออกมาก่อน เท่าที่ฟังมาก็จะเห็นได้ว่า AR เข้าใกล้จุดที่จะแพร่หลายแล้ว ในฐานะนักพัฒนาก็ต้องเตรียมรับมือ ผมอยากเปลี่ยนงานจาก iOS Engineer เป็น XR Engineer มาก ก็คงต้องเริ่มจากการลองทำแอพ เผยแพร่ ลองผิดลองถูกบ่อยๆ

UI Paradigm ในความเข้าใจของเรา

**AR น่าสนใจเพราะถือเป็นการเปลี่ยน Paradigm ของ User Interface ทำให้เกิดปัญหาใหม่ๆ ที่ต้องแก้ **ความรู้และสกิลที่มีอยู่ไม่สามารถใช้ได้อีกต่อไป อย่างเรื่องการออกแบบแอพต้องคำนึงถึงโลกความจริงด้วยนี่ก็ใช่เลย แต่สิ่งที่จะได้รับหลังแก้ปัญหาได้ก็คือประสบการณ์ใหม่ที่หาในโลกจริงไม่ได้ โลกที่เราอาศัยอยู่กับสิ่งมีชีวิตในโลกดิจิตอลอย่างกลมกลืน มีค่าพอที่จะฝึกสกิลเพื่อพัฒนา AR แน่นอน!