ARISE เป็นงานสัมมนาเพื่อคนที่เกี่ยวข้องหรือสนใจเทคโนโลยี AR เพิ่งจัดขึ้นครั้งแรกวันที่ 3/8/2019 ก็จะขอรีพอร์ตสิ่งที่ได้ฟังมาให้อ่านกันครับ ฟังแล้วได้คำใบ้ในการเข้าไปมีส่วนร่วมในวงการ AR เยอะเลย
ARISE: Spatial Experience Summit #1 (2019/08/03 11:00〜)
เว็บสมัครอีเวนต์
สถานที่จัด Abema Towers
วัตถุประสงค์ของอีเวนต์ ARISE
- อยากให้คนได้ลองทำอะไรใหม่ๆ ด้วย AR
- วัตถุประสงค์ของอีเวนต์
- เพื่อสร้างคอมมิวนิตี้ AR ระดับโลกจากญี่ปุ่น
- เพื่อใช้ AR สร้างคุณค่า (Value) จากผู้คนหลากหลายวงการ
- ทำไมบ. MESON ถึงจัด?
- อยากสร้าง space ที่ให้ผู้คนที่เชื่อมั่นใน AR ได้มีโอกาสทำอะไรใหม่ๆ ด้วยกัน
Sponsors
- MESON บ.ผู้จัดงานบ. อยากสร้าง UI/UX ใหม่ๆ บน AR
- enhance
- XR Guild @ CyberAgent
ข้าวปลาอาหารเที่ยงพร้อม
มีสติกเกอร์ให้ผู้ร่วมงานติดบอกว่าตัวเองอยู่ตำแหน่งอะไร จะได้พูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันง่ายขึ้น
Session #1 AR Trend 2019 จากมุมมองสื่อ
- Speaker = 久保田 瞬 / MoguraVR, Founder @tyranusii
- ภารกิจ = เพื่อเผยแพร่ประสบการณ์ที่หลากหลายแก่คนทั่วโลก
https://www.moguravr.com/
Mogura VR เว็บข่าว VR/AR ที่ผมอ่านทุกวัน
AR vs VR
- ที่เหมือนกันคือเป็นเทคนิคในการหลอกสมอง ให้นึกว่าของที่ไม่มีจริงมีอยู่จริง
- ตัวอย่างเช่น Pokemon GO ทำให้คนมารวมตัวกันอยู่ที่ยิมที่ไม่มีอยู่จริงได้ สร้างประสบการณ์ใหม่ขึ้นมา
- สามารถเปลี่ยนวิถีชีวิต เปลี่ยนสังคมได้
- AR แพร่หลายมากกว่า เข้าถึงสังคมอย่างแนบเนียน ใช้ในชีวิตประจำวันได้ แต่ไม่มี wearable device เท่าไร
- VR แพร่หลายน้อยกว่า ไม่ใช้ในชีวิตประจำวัน คนต้องการประสบการณ์ VR ที่แปลกใหม่จริงถึงจะสวมใส่ มี wearable device (HMD) หลากหลาย
อุปกรณ์ AR สามระดับ
- Smartphone/Tablet
- เข้าถึงง่าย รับรู้สภาพแวดล้อม แต่เป็นแค่หน้าจอ แยกจากสายตาเรา
- Smart Glasses
- เข้าเป็นส่วนหนึ่งของสายตา แต่ไม่สามารถรับรู้สภาพแวดล้อม
- Google Glass
- MR (Mixed Reality) Device
- เข้าเป็นส่วนหนึ่งของสายตา + รับรู้สภาพแวดล้อมได้ เป็นระดับสูงสุด
- HoloLens
Industry Map แผนภาพอุตสาหกรรม VR/AR
AR อยู่ในช่วงตกต่ำก่อนแพร่หลาย (แกนหลักเทคโนโลยีได้ แต่ประยุกต์ใช้งานในชีวิตประจำวันยังไม่ได้) ส่วน VR ทะลุเข้าช่วงกำลังแพร่หลายไปแล้ว
http://www.thevrfund.com/resources/industry-landscape/
เทียบกับ VR แล้ว AR มี player น้อยกว่า ฝั่ง infrastructure ก็ยังไม่มี standard ที่ชัดเจน สามารถเข้าไปร่วมพัฒนาในฝั่งฐานปิรามิดได้ ส่วนฝั่ง VR ชัดเจนแล้ว ถ้าจะเข้าไปร่วมพัฒนาก็จะเป็นฝั่ง Application/Media มากกว่า
AR Trend
- **เข้าถึงชีวิตประจำวันมากขึ้น **เพราะความแม่นยำในการรับรู้สภาพแวดล้อมสูงขึ้น 1. Snapchat ถ่ายรูปแปลงเพศ 2. Google Map AR Route นำทางด้วย AR 3. Pokemon GO จับโปเกม่อนในโลกจริง
- Mobile AR จะเป็นที่นิยมมากขึ้น 1. ARKit (iOS), ARCore (Google) 2. AR Filter ในแอพต่างๆ เช่น Facebook, Snapchat 3. WebAR ใช้บนเว็บไม่ต้องมีแอพ 4. Collaboration กับ IP (Intellectual Property) คาแรกเตอร์ต่างๆ เช่นแอพ AR Spiderman
- Wearable AR Device จะมีผู้ผลิตเพิ่มขึ้น 1. HoloLens 2 2. Nreal light 3. Magic Leap 4. ฯลฯ มากมาย 5. Apple ก็น่าจะลงมาร่วมตลาดด้วย
- AR จะถูกนำไปใช้ใน B2B ภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น 1. ใช้เทรนนิ่งในโรงงาน 2. HoloLens เทรนนิ่งทหารอเมริกา 3. ScopeAR WorkLink
อนาคตของ VR/AR
- จากนี้ไป VR/AR จะไม่ใช่แค่เครื่องมือ จะเป็นสิ่งที่อยู่ติดตัวตลอดเวลา (Wearable Devices)
- ต้องเปลี่ยนความคิดในการสร้างแอพไปเลย user จะไม่ได้หยิบอุปกรณ์ขึ้นมาเพื่อเปิดแอพอีกต่อไป แต่โลกเสมือนจะอยู่คู่กับ user ไปตลอด นักพัฒนาต้องเข้าใจค่านิยมที่จะเปลี่ยนไปถาวร
- คำนิยามใหม่เกิดขึ้นมาเรื่อยๆ
- Mixed Reality Collaborative Computing
- Magicverse Spatial Computing
- Mirror World
- มีสรุปกิจกรรมปัจจุบันในนิตยสาร WIRED vol.33
- อะไรคือ Real อะไรคือ VR อะไรคือ AR จะแยกไม่ออกอีกต่อไป สามารถสลับระหว่างความจริงกับโลกเสมือนได้อย่าง seamless
- สแกนโลกจริง แล้วเปลี่ยน texture ใน VR ก็จะได้โลกเสมือนที่ซ้อนทับโลกจริงออกมา
- docomo ลงทุนให้ Magic Leap 280 ล้านดอลลาร์
- เจ้าของ platform โลกเสมือนนี้มีมูลค่าธุรกิจสูงมากๆ เลยลงทุนกันมหาศาล
Startup Session - Panel Discussion
จากตรงนี้เป็นช่วงถามตอบผู้บริหารสี่คน ทอล์กโชว์แลกเปลี่ยนความเห็นกัน
- MESON - บ.สร้างประสบการณ์ใหม่ผ่าน AR เน้นที่แฟชั่นโชว์ และ AR City
- HADO - บ.ทำเกมปล่อยพลังคลื่นเต่าสู้กัน! อยากให้เกิดเป็นกีฬาใหม่
- HOLOLAB - บ. consult บริษัทในการใช้ AR/VR
- Graffity - บ.ทำ AR Communication Game ตัวอย่าง Pechabato เกมชูทติ้งยิงกันผ่าน AR
ข่าวที่ตกใจที่สุดในปี 2019 ในมุมมองผู้บริหารคือ?
- Nreal light แว่น AR Glasses คุณภาพดีมาก ราคารับได้ ดีอย่างนี้ AR wearable device ฮิตแน่ปีหน้า
- เทคโนโลยีมางี้ต้องเปลี่ยนแผนบริหารด่วนเลย ต้องลองเองถึงจะรู้ว่าเทคโนโลยีไหนจะเกิด เทคโนโลยีไหนจะไม่เกิด อย่าเชื่อข่าวจนกว่าจะได้ลอง
- Apple ARKit detect occlusion (ซ้อน object หน้าหลังในความเป็นจริง) ได้ พัฒนากว่าเดิมมาก
ครึ่งหลังปี 2019 ควรสนใจ Smartphone AR หรือ Smart glasses AR?
- ต้องใช้ทั้งสองอย่างให้เหมาะสม บางงาน ARKit เหมาะกว่าก็ใช้ smartphone บางงานแว่นเหมาะกว่าก็แว่น
- อยากโฟกัสไปที่ smart glasses ยิ่งถ้าทำแบบ B2B ก็สามารถใช้ประโยชน์ได้จริง แถมยังไม่มีใครทำให้ประสบความสำเร็จระดับโลก น่าท้าทาย
จะขยายโปรดักต์ออกไป มีแนวทางอย่างไร?
- Hado - อยากสร้างคอนเทนต์ที่ผู้เล่นเข้ามาร่วมเล่นกันได้เยอะๆ
- Graffity - ขยาย AR Entertainment อยากเป็นอย่าง Nintendo, ให้ผู้เล่นเล่นกันนานๆ (ข้อเสียของเกม AR ตอนนี้คือเล่นทีเดียวเลิกกันเยอะ) ขยายไปต่างประเทศ Global ดีกว่าแน่นอน
- meleap - จุดที่เจ๋งของ AR คือไม่ต้องใช้ภาษามาก แค่ลองเล่นก็เข้าใจ ขยายไปประเทศไหนก็ได้
- MESON - ไม่มีแนวทาง เพราะโลกเปลี่ยนเร็วมาก ต้องทดลองเร็วๆ หาพาร์ทเนอร์ให้เร็วที่สุด แต่ก็ต้องหาบ.ที่เข้าใจ vision ด้วยกัน ไม่งั้นก็ไม่จับมือด้วย
เวลาจ้างคน จะมองคนตรงไหน?
- คนที่สามารถขยายสกิลของตัวเองได้ด้วยตัวเอง
- ต้องรู้อะไรใหม่ๆ ตลอดเสมอ สกิลเขียนแอพไม่พอ ต้องรู้ดีไซน์ รู้การออกแบบสิ่งก่อสร้างด้วย
- คนที่คิดในฝั่ง business side มอง vision ไปด้วยกัน
- เวลาสร้างทีมอยากได้ creator หลายๆ ประเภทเข้ามา - sound design, text design ก็จำเป็น
- คนที่คิด project น่าสนใจๆ ด้วยตัวเองแล้วนำมาเสนอ จะยินดีรับเป็นพิเศษ
- Vision & Value คนที่เห็นด้วย มีความคิดเดียวกัน
- นอกจาก value แล้วก็อยากได้คนที่สนใจ ชอบ AR อยากสร้าง Innovation ด้วย AR มากๆ
- คนที่มี HoloLens เป็นของตัวเองยิ่งดี เห็นของใหม่แล้วอดซื้อไม่ได้เลย
- ในวงการนี้ทุกวันมีแต่ข่าวใหม่ๆ
ทำยังไงถึงจะสะสม Strength ในการคิด/พัฒนาโปรเจ็กต์ด้วย AR ได้?
- Hololab - เลือกโปรเจ็กต์ที่จะทำให้บ.ตัวเองได้ความรู้ใหม่
- MESON
- เลือกไปเจอต้นน้ำของข้อมูลที่ต่างประเทศ (อีเวนต์ต่างๆ) ไม่ไปเจอปลายน้ำ
- สร้างตำราด้วยตัวเอง สะสม know-how ด้วยตัวเอง
- Hado
- Hearing กับ user จริงๆ หนึ่งครั้งต่อ 2 สัปดาห์ ไปสัมภาษณ์นักเรียนตลอด
- ห้ามขี้เกียจสัมภาษณ์
- เปลี่ยนที่สัมภาษณ์ เล่นข้างนอก เล่นข้างในบ้าน
- อ่าน research paper ต่างประเทศตลอด เพื่อคาดเดา roadmap เทคโนโลยีที่จะเข้ามาในไม่กี่ปีข้างหน้า
- User test ต้องทำบ่อยๆ
- โดยเฉพาะคนที่ไม่เคยจับ AR มีคนที่ยกมือถือขึ้นมาดูแล้วไม่ขยับเลยด้วย เจองี้ก็เลยต้องใส่ guide เวลาคนไม่ขยับ ให้ลองเดินไปดูนู่นดูนี่
- จ้างนักกีฬามาเป็น debugger โดยเฉพาะเลย
- Hearing กับ user จริงๆ หนึ่งครั้งต่อ 2 สัปดาห์ ไปสัมภาษณ์นักเรียนตลอด
- ฝั่ง R&D ให้อ่าน research papar แล้วแชร์กันเยอะๆ
- ฝั่ง hardware ใหม่ๆ ก็ต้องเช็คด้วย ไม่ใช่แค่ทำ software บน hardware ที่มีอยู่แล้ว
- ทำ prototype เยอะมาก ทดสอบให้รวดเร็ว
Developer Session - Panel Discussion
จบช่วงผู้บริหารคุยกันแล้วก็เป็นช่วงนักพัฒนาคุยกันบ้าง ผู้พูดดังนี้
- MESON - AR Engineer พัฒนา PORTAL กับ ARCity หลักๆ เน้นฝั่ง UI
- CyberAgent AbemaTV - ลีดเดอร์ XR Guild ในบ. รวม engineer หลายๆ แผนกมาร่วมกันสร้างโปรดักต์ใหม่
- Psychic VR - สร้าง STYLY VR Creative Platform อัพโหลด&แชร์ผลงาน VR กัน
ข่าวที่ตกใจที่สุดในปี 2019 ในมุมมองนักพัฒนาคือ?
- MESON - ARKit 3 SDK พัฒนาไปมาก
- Occlusion
- แชร์ AR Space ได้
- Body tracking
- CA - ARKit 3
- Psychic - Nreal
- HoloLens ก็อัพเดตเยอะดีเหมือนกัน แต่ไม่ว้าว
- Nreal ทำให้ไม่ต้องไปดูโรง IMAX ได้เลย จากนี้ทุกคนจะมีโรงหนังส่วนตัวเพียงสวมแว่น
ทำไมถึงมาเป็น AR Developer ที่ Startup?
- Psychic
- อยากเป็นผู้มีพลังพิเศษ เชื่อว่า AR จะขยายความสามารถของคนได้
- CA
- อยู่บ.ใหญ่ คำนวณตัวเลขจาก AR ยาก
- อยากทำ ARKit อยากเป็นผู้รู้อันดับหนึ่งในบ. ก็เลยสร้าง project ด้วยตัวเอง
- ใช้งานจริง - สร้าง AR คอนเทนต์อธิบายแข่งม้า ถูกนำไปใช้ออกอากาศจริง
- MESON
- ทำ VR มาอยู่แล้ว
- แต่ AR เข้าใจง่ายกว่า VR เข้าถึงคนได้มากกว่า เลยทำ AR
อะไรที่ยากในการพัฒนา AR
- ต้องเรียน Unity ฯลฯ ใช้เวลาเต็ม
- ต้องเข้าใจ UI ใหม่
- smartglasses จะวางปุ่มที่ริมจอ?? ไม่มีริมจอซักหน่อย
- ต้องเข้าใจ 3D Space ไม่ใช่ 2D Space เปลี่ยน paradigm ในการดีไซน์ไปเลย
- ต้องทดลองเองเยอะ ทำให้เร็วที่สุดเพื่อพิสูจน์สมมติฐาน
- เช่นทดลอง AR ใน VR
- ยากที่ต้องออกแบบร่วมกับความเป็นจริง
- Use case ในห้องประชุม ต้องจัด virtual environment ยังไง จัด real environment ยังไงถึงจะได้ผลมากสุด
- ใช้ความรู้หลากหลายมากๆ ไม่ใช่แค่ engineering skill
- Real + Digital จึงได้ผลลัพธ์สูงสุด ต้องรู้ทั้งสองฝั่ง
- ต้องคำนึงถึงโลกจริง
- ห้องที่เป็นสีขาว จะ detect ยาก
- ต่อให้วาง marker ไว้ เพื่อเสก object ขึ้นมา บางที marker ก็หายไปเพราะแสงในสภาพแวดล้อม
- Interior design ก็จำเป็น
- คิดถึงคนใช้ด้วย เวลาใช้มือควบคุม hand gesture ต้องยกมือขึ้นมา คนธรรมดาเหนื่อย ไม่ชอบใจ
- อัพเดต SDK ครั้งใหญ่แล้วอะไรๆ ก็เปลี่ยนหมดเลย ต้องไล่ตาม
จะเป็นนักพัฒนา AR ต้องทำยังไง?
- ลองเทคโนโลยีใหม่ๆ ด้วยตัวเอง must
- ต้องเข้าใจความต่างของ display กับ AR space
- อธิบายให้ได้ รู้ถึงแก่นแท้
- ทำไม hand gesture ถึงยาก อธิบายได้มั้ย แก้ปัญหาได้มั้ย
- มุ่งเป็น AR Creator จะดีกว่า Engineer
- แค่เทคโนโลยี วิธีทำ หาอ่านได้มากมาย
- สำคัญกว่าคือ Output จะทำอะไรออกมา เพื่ออะไร
- ถ้าอยากเป็น AR Creator
- แบบโหด = ทำ advent calendar สร้างผลงานวันละชิ้นทุกวันไม่มีขาดหนึ่งเดือนเต็ม
- แบบธรรมดา = ทำคอนเทนต์ AR อัดคลิปสั้นๆ แชร์ให้คน RT เข้าใจ
- บอกไปเลยว่าตัวเองเป็น AR Creator แล้วก็สร้างผลงานออกมาเยอะๆ
- สถาปนิกมาจับ Unity สร้างผลงานเองอาจจะเร็วสุด
- ต้องการคนจากวงการอื่นๆ เข้ามาร่วมทำงานด้วยกัน
- โปรดักต์ AR ถ้าไม่ทำ prototype ก็ไม่มีทางทำโปรดักต์ออกมาได้
ส่งท้าย
ที่จริงยังมีอีก 3 session แต่ผมติดเรียนตอนบ่ายเลยออกมาก่อน เท่าที่ฟังมาก็จะเห็นได้ว่า AR เข้าใกล้จุดที่จะแพร่หลายแล้ว ในฐานะนักพัฒนาก็ต้องเตรียมรับมือ ผมอยากเปลี่ยนงานจาก iOS Engineer เป็น XR Engineer มาก ก็คงต้องเริ่มจากการลองทำแอพ เผยแพร่ ลองผิดลองถูกบ่อยๆ
UI Paradigm ในความเข้าใจของเรา
**AR น่าสนใจเพราะถือเป็นการเปลี่ยน Paradigm ของ User Interface ทำให้เกิดปัญหาใหม่ๆ ที่ต้องแก้ **ความรู้และสกิลที่มีอยู่ไม่สามารถใช้ได้อีกต่อไป อย่างเรื่องการออกแบบแอพต้องคำนึงถึงโลกความจริงด้วยนี่ก็ใช่เลย แต่สิ่งที่จะได้รับหลังแก้ปัญหาได้ก็คือประสบการณ์ใหม่ที่หาในโลกจริงไม่ได้ โลกที่เราอาศัยอยู่กับสิ่งมีชีวิตในโลกดิจิตอลอย่างกลมกลืน มีค่าพอที่จะฝึกสกิลเพื่อพัฒนา AR แน่นอน!