2018/10/21 วันนี้มีงาน xR Tech Tokyo ครั้งที่ 12 จัดที่บ. Mercari ที่ Roppongi รายละเอียด: https://vrtokyo.connpass.com/event/99826/ คอนเทนต์ที่มานำเสนอในวันนี้เป็นอะไรที่แปลกใหม่ดีมากๆ ก็จะขอรีพอร์ตความรู้ที่ได้ไว้ตรงนี้ครับ
xR Tech Tokyo คือ
xR Tech Tokyo เป็น Study event ที่ญี่ปุ่นสำหรับ Developer ที่เกี่ยวข้องกับ VR, AR และ MR โดยมี developer/producer/researcher ชั้นนำในวงการมาพูดอธิบายสิ่งที่ตัวเองทำอย่างละเอียด และมีการจัดแสดงผลงาน xR ให้ลองเล่น สัมผัสถึงเทคโนโลยีที่กำลังพัฒนานี้ด้วย งานจัดเป็นพักๆ ไม่มีตารางที่แน่นอน ติดตามความคืบหน้าได้จาก hashtag https://twitter.com/hashtag/xRTech
Session 1 - Tech + Non-tech in Virtual Music Live
Tech + Non-tech in Virtual Music Live (音楽ライブをさせたTechと非Tech) ผู้พูดคือ CEO บ.cluster Katou Naoto (@c_c_kato) บ.ที่เชี่ยวชาญในการจัดอีเวนต์ในโลก Virtual มี platform เป็นของตัวเอง สโลแกนของบริษัทคือ “引きこもりを加速する - เร่งสปีดสังคมฮิคิโคโมริ” โดนใจมาก
cluster platform
Virtual Music Live เสียเงินครั้งแรกในโลก Kaguya Luna LIVE@Zepp VR
Kaguya Luna LIVE@Zepp VR
- cluster จัด Virtual Live ครั้งแรก ด้วยอีเวนต์ชื่อ “輝夜月 LIVE@Zepp VR - Kaguya Luna LIVE@Zepp VR” เมื่อวันที่ 2018/8/31
- เป็นไลฟ์เสียเงินเท่าคอนเสิร์ตจริงๆ ราคาตั๋วค่าเข้าไปดูใน VR 5,400 เยน ขายตั๋วหลักร้อยใบหมดเกลี้ยง
- มี Live Viewing ถ่ายทอดสดไปยังโรงหนังทั่วประเทศ เหมือนคอนเสิร์ตไอดอลทั่วไปด้วย ผู้ชมรวมถึง 5,000 คน
- บรรยากาศอ่านได้จากรีพอร์ต http://panora.tokyo/73413/
- การแสดง การรับชม การถ่ายทอดสด ทุกอย่างทำบน VR ทั้งหมด ไม่มีเวทีจริง
เรื่องลำบากของผู้จัดงาน
-
1. PC Spec ของ user ต่างกันมากราวฟ้าเหว มีคนที่กระตุกและไม่กระตุก
- cluster platform รันบน OpenVR ต้องใช้คอมที่สเปคถึง VR Ready (การ์ดจอ GTX970/GTX1060 ขึ้นไป)
- มีคนที่คอมไม่แรงพอ ไม่รองรับ VR Ready แต่ดันซื้อตั๋ว VR แล้วเข้ามา บอกว่ากระตุก
- ผู้จัดงานก็คิดหนักว่าจะทำไงกับ user เหล่านี้ ก็ได้ข้อสรุปว่าโฟกัสกับ “ความอิ่มเอม” “ความพอใจ” มากกว่าที่จะโฟกัสกับการพยายามมอบประสบการณ์ที่อลังการที่สุด (最高の体験ではなく「納得感」と「満足感」を届けよう)
- Questionaire ถามคนที่เข้าร่วมใน VR ปรากฏว่า 96% ให้คะแนน 5 คะแนนเต็ม ดีมากๆ
- Strategy ในการลดปัญหา
- ส่งเมล ส่ง DM ให้คนซื้อตั๋วร่วม beta testing ก่อนจะเริ่ม live จริง
- คำถามที่เยอะสุด ปรากฏว่ามาจากคนที่ซื้อตั๋ว Live viewing ที่ต้องไปดูที่โรงหนัง ถามว่าต้องใช้ PC รึเปล่า… (ไม่ต้อง)
- ฝั่ง VR Live เทสต์ให้ซัพพอร์ต VR Ready PC ในทุกสถานการณ์ของการแสดง แต่ก็ยอมให้ FPS ดร็อปบ้างในกรณีที่แสดงโหดๆ สั้นๆ
- สำหรับคนที่สเป็กต่ำกว่า VR Ready แปลว่าระบบไม่ซัพพอร์ต ถ้าเข้ามาก็ส่ง Warning เตือนในระบบ
- สิ่งที่อยากให้เป็นคือให้ VR HMD ทุกเครื่องสเป็กเท่ากัน ไม่ต้องกังวลว่าเครื่องไหนจะช้าจะเร็ว อิมเมจคือ PS VR ซัพพอร์ตครั้งเดียวรันได้ทั่วโลก ก็หวังว่า Standalone VR จะเข้ามาแก้จุดนี้ได้
- 2. Virtual Live ต้องถามตอบทุกอย่างออนไลน์ ไม่มีทางได้เจอคนซัพพอร์ตตรงๆ ทำให้ user โคตรกังวล
- จะเข้าได้จริงเหรอ?
- จ่ายเงินไม่ได้คืนเงินได้เปล่า?
- คนมีปัญหาก่อกวนในไลฟ์จะทำไง?
- (ฝั่งผู้ให้บริการ cluster) คนที่ซื้อตั๋วมันเข้าใจว่า cluster คือ VR service จริงเปล่า
- วิธีแก้
- สร้าง flow CS/support
- User มาจาก Twitter เพราะงั้นก็เน้นตอบผ่าน Twitter DM
- สร้างคาแรกเตอร์ Cluster-chan น่ารักๆ ตอบ DM เพื่อสื่ออิมเมจอ่อนโยนให้ user
- ผลลัพธ์
- คนที่ซื้อตั๋ว 90% เข้ามาดู VR live จริงๆ
- คนที่เข้าไม่ได้มีคนเดียว เพราะใช้ Windows 7 ที่ไม่รองรับ VR ก็อธิบายเหตุผลให้ user ยอมรับไป
- มีปัญหาคนที่ไม่ได้ยินเสียงพูด ได้ยินแต่เสียงเพลงคนหนึ่ง มีปัญหาจากระบบมิกซ์เสียง CRI (criware) ที่ใช้ ก็ขอโทษให้ user ยอมรับไป
- สิ่งที่เรียนรู้
- ต้องเตรียม Support flow และฝึกซ้อมไว้ให้ดี
- 3. ฝั่งผู้จัดอีเวนต์ไม่มีใครเคยจัด Virtual Live อย่างนี้มาก่อน
- แต่ก็ทำ Virtual Event มา 2 ปีแล้ว มี know-how มาแก้เยอะพอควร
- ปัญหา 1 ระบบ streaming, recording
- Network ต้องใช้ optic fiber ให้มั่นใจว่าเร็วจริง ไม่มีดีเลย์
- Motion capture system กรณีใช้ Perception Neuron ถ้าเจอสถานที่ที่แม่เหล็กแรงจะมีปัญหา ใช้ไม่ได้เลยก็มี ถ้าใช้ Infrared (แบบ Vive) ต้องดูว่าผนังจะสะท้อนสร้างปัญหารึเปล่า แก้โดยการกางม่านดำติดผนัง
- Sound recording เสียงใน VR สำคัญมาก ต้องใช้ไมค์ที่ดี ไม่งั้นคุณภาพกากเกินกว่าจะฉายบนโรงหนังได้
- ปัญหา 2 Operation ในวันงาน
- การเข้าที่นั่งของ user ต่างจากอีเวนต์จริงเพราะ user แค่สวม HMD ก็เข้าได้เลย แต่ชีวิตจริงไม่ใช้อย่างนั้น ต้องเดินเข้ามา มีความตื่นเต้นก่อนเข้า ก็เลยต้องหาวิธีทำให้ user พร้อมจะสัมผัส รับอะไรที่ตื่นเต้น ตัวอย่างคือการให้ผู้เล่นเข้ามาที่ virtual lobby ก่อนแล้วเดินเข้าอีเวนต์เหมือนจริง ไม่ใช่อยู่ๆ ก็ summon ไปโผล่กลางคอนเสิร์ต ทำใจไม่ทัน
- แก้ปัญหา avatar ของ user ไม่เหมาะสมด้วยการจัดสต๊าฟไว้ที่ทางเดินเข้าฮอลคอนเสิร์ต เจอคนไม่เหมาะสมก็กด command บังคับเปลี่ยน avatar ก่อนเข้า (เหมือนชีวิตจริง ต้องเช็คว่ามีอาวุธอะไรรึเปล่าเลย)
- วิธีสั่งนักแสดง ต้องเตรียมบอกให้รู้ว่าจะดูสคริปต์ได้ตรงไหนใน VR (ชีวิตจริงคือยกป้ายโชว์ได้ตรงหน้า แต่ VR ไม่ใช่อย่างนั้น) ส่วนเสียงสั่งได้ผ่านทาง headphone เท่านั้น
- การควบคุมกล้อง กล้องใช้จอยสติ๊กคุมได้ ไม่ต้องซื้อระบบกล้องราคาหลายล้าน เป็นอิสระดีก็จริง แต่เข้าใกล้เกินจนทะลุโมเดลได้ ต้องระวังไม่ให้เกิดอะไรอย่างนั้น
- ปัญหา 3 การดูแลผู้แสดง
- ผู้แสดงก็กังวลเหมือนกัน เพราะต่างจากการแสดงในชีวิตจริง
- แก้โดยการฝึกขยับตัว ให้ชินกับการควบคุมระบบ IK ใน cluster เวลาฝึกก็ให้ดูกระจกใน VR ให้รู้ว่าตัวเองขยับยังไงถึงจะถูก
- HMD ใช้ Vive มันมีสาย เพราะงั้นถ้าวิ่งก็จะพันกันเละ เพื่อป้องกันก็ให้นั่งบนเก้าอี้แสดงเอา
- เตรียมวิธีออกจากเวที (หนี) ในกรณีเกิดปัญหาจริงๆ
- ปัญหา 4 เซิฟเวอร์ล่ม
- Virtual live ไม่ว่าจะเตรียมตัวดียังไงก็เกิดปัญหาได้ โดยเฉพาะจากฝั่ง server
- cluster เตรียมแผนสำรองไว้กรณีที่ล่มจริงๆ ทำ simulation ไว้พร้อม
- เตรียมแผน irregular ไว้ กรณีเกิดปัญหาจริงๆ ให้ทำตามแผนได้ 100% โดยไม่ต้องมีคนมาตัดสินอีกที เพราะเวลาเกิดปัญหาคนจะ panic ตัดสินใจไม่ถูก
- เตรียมเส้นทางติดต่อ แจ้ง user แบบด่วนๆ
- เตรียมวิธี recovery ถ้าภายใน xx นาทีกู้ทันก็จะกู้
- สำคัญสุด: แจ้ง user ไว้ล่วงหน้าว่ามีโอกาสล่ม แสดง live ไม่ได้ ก็จะเซฟตัวเองได้มากขึ้น
Kaguya Luna - Virtual Youtuber & Idol
ข้อดีของ Virtual Live
- ประหยัดค่าแรงสุดๆ จะจัดไลฟ์ในโลกจริงนี่ค่าแรงหลายล้านเยน
- ค่าจ้างคนคุมผู้ชมเข้าออก
- ค่า security
- ค่าจัดเวที เก็บเวที
- คนทำ lighting & sound
- ไม่เสียค่าที่ ค่าเครื่อง
- ค่าสถานที่ ไลฟ์เฮาส์ที่พาคนเข้าหลัก 100 คนได้ก็เสียค่าที่เป็นล้านเยนแล้ว
- ค่ากล้อง ค่าอุปกรณ์แสง
- จะใส่ special effect ก็เสียแค่ค่าทำ software ซ้อมกี่ทีก็ได้ ไม่เหมือนชีวิตจริง ที่ถ้าอยากจุดดอกไม้ไฟก็ต้องเสียค่าดอกไม้ไฟ ซ้อมได้อย่างมากก็ครั้งเดียว
- Special effect ทำอะไรก็ได้
- บินเล่นได้ตามสบาย ปลอดภัย
- จุดดอกไม้ไฟได้ตามใจ ไม่ผิดกฎหมาย ไม่มีโอกาสเกิดไฟไหม้
- จะเล่นกับ scale ตัวเล็กลง ใหญ่ขึ้นยังไงก็ได้
- สถานที่เปลี่ยนไปไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องอยู่แต่ในฮอลคอนเสิร์ต
- Music Live เป็นคอนเทนต์ที่เข้ากับ VR สุดๆ
- ไลฟ์ไอดอล แก่นแท้คือการมอบ experience ที่หาไม่ได้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเข้ากับ VR experience มาก
- ไม่เมา VR เลย เพราะในไลฟ์คนดูแค่ยืนโบกไซเลียม ไม่ต้องขยับไปไหนมาก ภาพใน VR เลย sync กับตัวจริง โป๊ะเชะ
ความเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับ Session นี้
ในฐานะที่เคยติ่งไอดอล ไปไลฟ์จริงโคตรบ่อย Virtual Music Live เป็นอะไรที่เราอยากให้มีจริงมาก คือจะไปไลฟ์แต่ละทีมันต้องเดินทางไกล เบียดคนเข้า ตอนออกพร้อมกันก็ต้องเบียดคนออก ไปเจอรถไฟคนทะลักอีก ก่อนดูหลังดูต้องเหนื่อยโดยไม่จำเป็น ถ้าได้ดูเฉพาะไลฟ์เลย ไม่ต้องเหนื่อยกับกระบวนการก่อนหน้า แล้วสนุกได้ระดับเดียวกับไลฟ์จริง เราคงไปดูไลฟ์ได้มากขึ้น โลกนี้ก็คงสนุกขึ้นเยอะ ส่วนฝั่งคนจัดงานก็ไม่ต้องเสียเงินกับสิ่งที่ไม่ใช่ “แก่นแท้” ของไลฟ์ อย่างค่าสถานที่ ค่าคนคุมคนอีกทีอะไรพวกนี้ ได้ฟัง session นี้แล้ว รู้สึกว่า cluster นี่แหละคืออนาคตของ Entertainment บน VR!